วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเจ็บป่วย และการตาย


การเจ็บป่วย
และการตาย
เดี๋ยวนี้ คนไทยมีสุขภาพดีกว่าแต่ก่อนมาก อายุก็ยืนยาว
ขึ้น เมื่อ 40-50 ปีก่อน พอเกิดมา คาดเฉลี่ยว่าคนไทยจะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเฉลี่ยเพียง 50 ปีเท่านั้น ปัจจุบันเพิ่ม
สูงขึ้นถึง 73 ปี เราหวังว่าคนไทยจะยิ่งมีอายุยืนขึ้นไปอีก
ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า คนไทยน่าจะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อ
แรกเกิดถึง 80 ปี ไม่น้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันมากนัก
คนไทยตายราว 4 แสนกว่าคนในแต่ละปี
แต่จ�านวนตายนี้ก�าลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต อีกราว
10-20 ปีข้างหน้า อาจจะมีคนไทยตายปีละกว่า
6 แสนคน (หรือที่อัตราตายประมาณ 10 คน ต่อประชากร
1,000 คน) ซึ่งจะเป็นจ�านวนพอๆ กับการเกิด ท�าให้
ประชากรไทยไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจถึงขั้นลดจ�านวนลง
อายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่สูงขึ้นมากในช่วง
เวลา 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ เป็นผลอย่างมากจากการ
ลดลงของการตายในวัยทารกและเด็ก เมื่อ 40 ปีก่อน
เด็กเกิดมา 1,000 คน จะตายไปเสียตั้งแต่อายุยังไม่ครบ
ขวบถึง 80 คน อัตราตายทารกได้ลดลงเหลือเพียง
13 รายต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย ในปัจจุบัน
การอนามัยแม่และเด็ก สุขาภิบาล การสร้างภูมิคุ้มกัน
โรค เช่น การปลูกฝี ฉีดวัคซีน ช่วยท�าให้ทารกและเด็ก
มีอัตรารอดชีพสูงขึ้นอย่างมาก อัตราตายในวัยอื่นๆ ของ
ประชากรไทยก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน การพัฒนาประเทศ
ด้านต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุข สุขาภิบาล
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมท�าให้อัตราตายของ
ประชากรไทยลดต�่าลงอย่างมากในทุกกลุ่มอายุ
สาเหตุการตายของประชากรไทยได้เปลี่ยนไป
จากเดิมมาก ในอดีต คนไทยตายมากเพราะโรคติดเชื้อ
ที่แพร่ระบาดไปได้ทั้งทางน�้า อากาศ หรือโดยพาหะ
น�าโรคชนิดต่างๆ ปัจจุบันการตายของประชากรไทย
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอยู่และ
การใช้ชีวิตของตนเอง สาเหตุการตายที่ส�าคัญในปัจจุบัน
ได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด มะเร็ง
เอดส์ โรคหัวใจ ความดันเลือด รวมทั้งอุบัติเหตุบนถนน
โรคสมัยใหม่หลายอย่างสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยง
ได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น พฤติกรรม
การกินอาหาร การออกก�าลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
การขับขี่ยวดยานพาหนะ
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ
มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 และนับวันประชากร
ไทยจะยิ่งมีอายุสูงขึ้น เราก็พอมองเห็นภาพแนวโน้ม
ของภาวะความเจ็บป่วยของประชากรที่น่าจะเกิดขึ้นใน
อนาคต ผู้สูงอายุย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าคนอายุ
น้อย ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น
โรคของผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแล
ระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน โรคความจ�าเสื่อม อัมพฤกษ์
อัมพาต โรคเกี่ยวกับกระดูกและฟัน โรคเหล่านี้ต้องการ
การรักษาต่อเนื่อง โรคของผู้สูงอายุเหล่านี้จะเพิ่มภาระ
ในการดูแลรักษาให้กับสังคมไทยในอนาคต
ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
“จ�านวนการตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพราะเรามีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น
หากเป็นเพราะประชากรไทยมีอายุสูงขึ้น ประมาณว่าร้อยละ 60
ของคนที่ตายทั้งหมดในแต่ละปีเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป”
55-03-004 Th_001-120_new17_Y.indd 14 17/3/2012 13:580

แนวโนมการเปลี่ยนแปลงอัตราเกิด อัตราตายของประเทศไทย พ.ศ. 2500-2593
จำนวนการตายของประเทศไทย พ.ศ. 2511-2553
ประมาณจำนวนผูสูงอายุ จำแนกตามภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวันและตามเพศ พ.ศ. 2553-2583
รอยละจำนวนปที่สูญเสียไปจากการตายกอนวัยอันควร (Year of Life Lost: YLL)

1 ความคิดเห็น:

  1. Casino of the Week 2021 - Mapyro
    Get free coins 목포 출장샵 and other 포항 출장마사지 valuable slot machine items at the best slot 천안 출장마사지 sites. 파주 출장샵 Find 사천 출장안마 your favorite slot games right here. Earn FREE Coins and redeem them for

    ตอบลบ