วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นักวิทยาศาสตร์ อิสลาม


นักวิทยาศาสตร์ อิสลาม
ฮากิม อิบนุ ซีนา
อิบนุ ซีนา หรือที่ชาวยุโรปเรียกันว่า เอวิเซ็นนา(Avicenna) เป็นนักวิทยาศาสตร์มุสลิมคนหนึ่ง ที่เกิดในปี ค.ศ.980 ในดินแดนทางตะวันอกเฉียงเหนือของอาณาจักรอับบาสิด (อุสเบกิสถานปัจจุบัน) บิดาของเขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดท้องถิ่นแห่งหนึ่งของเปอร์เซีย และเป็นนักวิชาการมีเกียรติ อิบนุซีนาจึงพูดภาษาเปอร์เซียเช่นเดียวกับผู้มีการศึกษาในส่วนอื่นๆ ของโลก เขาเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมาก สามารถจดจำอัล-กุรอานได้ทั้งเล่มเมื่ออายุได้เพียงเจ็ดขวบ ทั้งที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาของเขา ในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่นั้น เขาได้เรียนรู้ระบบการนับเลขแบบอินเดียจากครูที่เป็นนักเดินทาง เมื่ออิบนุซีนาอายุสิบแปดปี เขาประสบความสำเร็จในการเป็นหมอที่รักษาผู้ป่วยให้หายได้จำนวนมาก
อิบนุซีนากลายเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากจนกระทั่งสุลต่านนูฮฺ อิบนฺ มันซูรฺ แห่งบุคอรอได้มาหาเขาเพื่อให้ช่วยรักษาอาหารป่วย เมื่ออิบนุซีนาสามารถรักษาอาการป่วยของสุลต่านผู้นั้นได้ สุลต่านจึงให้เขาทำงานเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้นอิบนุซีนามีอายุแค่ 18 ปีเท่านั้น เมื่อได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของสุลต่านแล้ว อิบนุซีนาก็ได้อ่านหนังสือหายากหลายเล่มจากในห้องสมุดของสุลต่าน
อิบนุซีนามีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุได้ยี่สิบปี อิบนุซีนาเป็นบุคคลแรกที่ "แรงกระตุ้นเป็นสัดส่วนของอัตราความเร็ว" นี่คือสมการพื้นฐานที่อธิบายแรงผลักดันในทุกวันนี้ เขายังอ้างเหตุผลด้วยว่า วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในสุญญากาศนั้นยังคงเคลื่อนที่ไปโดยไม่ชะลอความเร็วลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องอีกเช่นกัน อิบนุซีนายังได้กล่าวไว้อีกว่า นักวิทยาศาสนาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโลหะอย่างตะกั่ว หรือทองแดง ให้กลายเป็นทองได้ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะพยายามทดลอง
ตำราทางการแพทย์ของอิบนุซีนาตั้งแต่ ค.ศ. 1000 เป็นต้นมา
อิบนุซีนายังได้เขียนตำราทางการแพทย์เป็นภาษาอาหรับไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแพทย์ได้ใช้กันทั่วอาณาจักรอับบาสิด และเมื่อตำรานี้ถูกแปลเป็นภาษาละติน ก็ได้ถูกนำมาใช้ไปทั่วทั้งยุโรปเช่นกัน ตลอดช่วงสมัยของยุคกลาง อิบนุซีนายังอาจจะเป็นบุคคลแรกที่ได้รู้ว่า คนเราสามารถติดเชื้อโรคต่างๆ จากคนด้วยกัน เช่นโรคหัด ไข้ทรพิษ หรือวัณโรค ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักเชื้อโรคเลย เพราะยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์
เมื่อสุลต่านสิ้นพระชนม์ลง รัชทายาทชื่อ อะลี อิบนฺ ชามส์ อัล-เดาลา ได้ขอให้อิบนุซีนาดำรงตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ต่อไป แต่เขาตกลงที่จะเข้าร่วมกับกองกำลังของโอรสของสุลต่านอีกคนหนึ่ง คือ อะลา อัล-เดาลา และจึงต้องหลบซ่อนตัว ในระหว่างช่วงเวลานี้เอง เขาได้เขียนตำราเกี่ยวกับหลักปราชญาที่สำคัญเล่มหนึ่ง คือ "กิตาบุล-ชีฟา" (หนังสือเรื่องการเยียวยา) ครอบคลุมในเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องกายภาพหรือฟิสิกส์และชีวิตหลังความตาย ในขณะที่กำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์นั้น อิบนุซีนาถูกจับกุมไปคุมขัง แต่เขาหนีรอดไปได้และปลอมตัวเป็นซูฟีไปยังอิสฟาฮานเพื่อสมทบกับอะลา อัล-เดาลา
ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มเช่น กิตาบุล นาญาต, อัล-มันติก และ อัล-อิสฮารอต วะ อิตันบิฮาต เป็นหนังสือเกี่ยวศาสนาและหลักตรรกศาสตร์ นอกจากนี้งานเขียนของเขายังรวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์, การแพทย์, ภาษาสาสตร์ และสัตวศาสตร์ด้วย อิบนุซีนายังเป็นนักกวีที่เขียนกวีได้อย่างไพเราะเช่นหนังสือ ฮัยย์ อิบนฺ ยักซัน  อิบนุซีนายังทำงานเกี่ยวกับปรัชญาและการแพทย์ตลอดจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่อยมาจนกระทั่งเขาเสียชีวิต

ลิงค์อื่นๆ :
  อาจารย์สมชัย นักดาราศาสตร์มุสลิมไทยได้กลับสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์แล้ว
  จุฬาราชมนตรี ตำแหน่งผู้นำมุสลิมของไทย
  โอมาร์ คัยยัม
  อะบูอับดุลลอฮฺ อัล-บัตตานี
  นัสรุดดีน อัล-ตูซี
  อบุลกอซิม อัซ-ซะฮฺรอวี
  ญะลาลุดดีน รูมี
  อับบาส อิบนฺ ฟิรฺนาส
  อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ปรมาจารย์แห่งวิทยาศาสตร์
  อิบนู บัตตูตา

รุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุูปถ่าย








การเจ็บป่วย และการตาย


การเจ็บป่วย
และการตาย
เดี๋ยวนี้ คนไทยมีสุขภาพดีกว่าแต่ก่อนมาก อายุก็ยืนยาว
ขึ้น เมื่อ 40-50 ปีก่อน พอเกิดมา คาดเฉลี่ยว่าคนไทยจะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเฉลี่ยเพียง 50 ปีเท่านั้น ปัจจุบันเพิ่ม
สูงขึ้นถึง 73 ปี เราหวังว่าคนไทยจะยิ่งมีอายุยืนขึ้นไปอีก
ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า คนไทยน่าจะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อ
แรกเกิดถึง 80 ปี ไม่น้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันมากนัก
คนไทยตายราว 4 แสนกว่าคนในแต่ละปี
แต่จ�านวนตายนี้ก�าลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต อีกราว
10-20 ปีข้างหน้า อาจจะมีคนไทยตายปีละกว่า
6 แสนคน (หรือที่อัตราตายประมาณ 10 คน ต่อประชากร
1,000 คน) ซึ่งจะเป็นจ�านวนพอๆ กับการเกิด ท�าให้
ประชากรไทยไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจถึงขั้นลดจ�านวนลง
อายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่สูงขึ้นมากในช่วง
เวลา 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ เป็นผลอย่างมากจากการ
ลดลงของการตายในวัยทารกและเด็ก เมื่อ 40 ปีก่อน
เด็กเกิดมา 1,000 คน จะตายไปเสียตั้งแต่อายุยังไม่ครบ
ขวบถึง 80 คน อัตราตายทารกได้ลดลงเหลือเพียง
13 รายต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย ในปัจจุบัน
การอนามัยแม่และเด็ก สุขาภิบาล การสร้างภูมิคุ้มกัน
โรค เช่น การปลูกฝี ฉีดวัคซีน ช่วยท�าให้ทารกและเด็ก
มีอัตรารอดชีพสูงขึ้นอย่างมาก อัตราตายในวัยอื่นๆ ของ
ประชากรไทยก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน การพัฒนาประเทศ
ด้านต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุข สุขาภิบาล
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมท�าให้อัตราตายของ
ประชากรไทยลดต�่าลงอย่างมากในทุกกลุ่มอายุ
สาเหตุการตายของประชากรไทยได้เปลี่ยนไป
จากเดิมมาก ในอดีต คนไทยตายมากเพราะโรคติดเชื้อ
ที่แพร่ระบาดไปได้ทั้งทางน�้า อากาศ หรือโดยพาหะ
น�าโรคชนิดต่างๆ ปัจจุบันการตายของประชากรไทย
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอยู่และ
การใช้ชีวิตของตนเอง สาเหตุการตายที่ส�าคัญในปัจจุบัน
ได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด มะเร็ง
เอดส์ โรคหัวใจ ความดันเลือด รวมทั้งอุบัติเหตุบนถนน
โรคสมัยใหม่หลายอย่างสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยง
ได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น พฤติกรรม
การกินอาหาร การออกก�าลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
การขับขี่ยวดยานพาหนะ
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ
มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 และนับวันประชากร
ไทยจะยิ่งมีอายุสูงขึ้น เราก็พอมองเห็นภาพแนวโน้ม
ของภาวะความเจ็บป่วยของประชากรที่น่าจะเกิดขึ้นใน
อนาคต ผู้สูงอายุย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าคนอายุ
น้อย ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น
โรคของผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแล
ระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน โรคความจ�าเสื่อม อัมพฤกษ์
อัมพาต โรคเกี่ยวกับกระดูกและฟัน โรคเหล่านี้ต้องการ
การรักษาต่อเนื่อง โรคของผู้สูงอายุเหล่านี้จะเพิ่มภาระ
ในการดูแลรักษาให้กับสังคมไทยในอนาคต
ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
“จ�านวนการตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพราะเรามีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น
หากเป็นเพราะประชากรไทยมีอายุสูงขึ้น ประมาณว่าร้อยละ 60
ของคนที่ตายทั้งหมดในแต่ละปีเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป”
55-03-004 Th_001-120_new17_Y.indd 14 17/3/2012 13:580

แนวโนมการเปลี่ยนแปลงอัตราเกิด อัตราตายของประเทศไทย พ.ศ. 2500-2593
จำนวนการตายของประเทศไทย พ.ศ. 2511-2553
ประมาณจำนวนผูสูงอายุ จำแนกตามภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวันและตามเพศ พ.ศ. 2553-2583
รอยละจำนวนปที่สูญเสียไปจากการตายกอนวัยอันควร (Year of Life Lost: YLL)

การ เรียนพิเศษ


การ “เรียนหนัก” และ “กวดวิชา” ช่วยพัฒนาประชากรจริงหรือ?

JANUARY 18, 2012    
นักเรียนไทยรุ่นใหม่แทบทุกคนเคยเรียนพิเศษเพื่อให้สอบได้คะแนนดี สอบเข้าคณะที่ต้องการได้ ฯลฯ แต่หากศักยภาพในการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพประชากร หากคุณภาพประชากรขึ้นอยู่กับคุณภาพการศึกษา และหากคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนในการเข้าใจสาระที่เรียนอย่างถ่องแท้ เราอาจจะต้องตั้งคำถามว่าการเรียนหนักและการกวดวิชาสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพประชากรได้จริงหรือ?
ดังที่เคยนำเสนอไปแล้ว[1] ว่าทางหนึ่งที่จะวัดความเข้าใจในสาระวิชาของนักเรียนโดยใช้มาตรฐานเดียวกันในระดับนานาชาติ คือ การทดสอบ PISA[2] โดยผลการศึกษาของ PISA ฉบับล่าสุดที่ทำในปี 2009 นอกจากจะรายงานผลการทดสอบแล้ว ยังมีผลการศึกษาที่น่าสนใจสองประการซึ่งเราแสดงไว้เป็นกราฟในภาพ คือ
1. กราฟซ้ายแสดงคะแนน PISA เป็นฟังก์ชันของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนแต่ละประเทศเรียนวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่ากราฟนั้นค่อนข้างเรียบและมีความสัมพันธ์ไปในทางลบเล็กน้อย นั่นคือการใช้เวลาเรียนมากขึ้นไม่ได้ส่งผลให้เข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น ซ้ำร้ายการใช้เวลาเรียนมากเกินไปยังส่งผลในเชิงลบต่อความเข้าใจเสียด้วย (หมายเหตุ: ดูกราฟต้นฉบับใน [2] หน้า 386)
ผลการศึกษานี้ขัดกับสามัญสำนึกว่าหาก “เรียนมาก” ก็น่าจะทำคะแนนได้ดีกว่า ซึ่งไม่เป็นความจริง
2. กราฟขวาแสดงคะแนน PISA เป็นฟังก์ชันของเปอร์เซนต์ของชั่วโมงเรียนวิทยาศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียน (ส่วนที่เหลือคือการเรียนกวดวิชา) ประเทศที่เปอร์เซนต์น้อยแปลว่าเรียนในห้องเรียนน้อยและเรียนพิเศษมาก เช่น เม็กซิโก ชิลี บราซิล ส่วนประเทศที่เปอร์เซนต์สูงแปลว่าใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมากและเรียนพิเศษเป็นสัดส่วนน้อยกว่า เช่น ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น
กราฟนี้แสดงว่ายิ่งให้ความสำคัญกับเวลาเรียนในห้องเรียนมากก็จะยิ่งเข้าใจสาระที่เรียนได้มาก และหากเรียนกวดวิชากันเป็นสัดส่วนมากจะกลับมีความเข้าใจน้อยลง ทั้งนี้ ควรเป็นที่สังเกตว่าข้อมูลนี้ไม่ได้แสดงว่าความเข้าใจในสาระวิชานั้นถูกลดด้อยลงเพราะคุณภาพการเรียนในห้องหรือการกวดวิชา เพียงแต่บอกว่าประเทศที่นักเรียนใช้เวลาไปกับการเรียนกวดวิชาเป็นสัดส่วนน้อยกว่าจะมีความเข้าใจในสาระวิชามากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นไปได้เช่นกันว่าว่าประเทศที่มีการเรียนพิเศษน้อยและมีระดับความเข้าใจในสาระวิชาสูงเป็นผลของการศึกษาภาคบังคับที่มีประสิทธิภาพมาก (หมายเหตุ: ดูกราฟต้นฉบับใน [2] หน้า 386 และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องผลของการกวดวิชาได้ใน Box D1.2. “Does investing in after-school classes pay off?”; ทีมงานไม่มีข้อมูลเปอร์เซนต์ของเวลาเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนสำหรับประเทศไทย จึงแสดงระยะประมาณที่ 45-60 เปอร์เซนต์ไว้ในกราฟ)
ผลวิจัยนี้ชี้ว่าแม้การเรียนพิเศษหรือกวดวิชาอาจจะทำให้สอบเก่งขึ้น เข้าคณะที่ต้องการได้ ฯลฯ แต่กลับไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจในสาระวิชาอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ
เราอาจกล่าวได้เช่นกันว่าคุณภาพการเรียนในห้องเรียนของแต่ละประเทศ ย่อมส่งผลต่อสัดส่วนการเรียนในห้อง/เรียนพิเศษ แต่ถึงแม้ประเทศที่ (เชื่อกันว่า) การเรียนในห้องมีคุณภาพสูง ผลการศึกษาในข้อ 1 ก็แสดงให้เห็นอยู่ดีว่ายิ่งเรียนมาก ยิ่งทำคะแนนสอบได้น้อย แอดมินย้ำว่าผลการศึกษาทั้งสองไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงแห่งเดียว แต่เป็นธรรมชาติของระบบการศึกษาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ไม่ได้พิเศษแตกต่างแต่อย่างไร
แน่นอนว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพประชากรเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องการการแก้ไขจากทุกฝ่าย เราคงไม่สามารถกล่าวได้ว่านี่คือความผิดของ ครู นักเรียน เจ้าของโรงเรียนกวดวิชา ติวเตอร์ รัฐบาล ระบบการศึกษา หรือใครคนใดคนหนึ่ง
หากเราทุกคนช่วยกัน “ตั้งคำถาม” ว่ามีอะไรผิดบ้าง ช่วยกัน “ตอบคำถาม” ว่าเราจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และช่วยกัน “สอดส่อง” ว่ามีอะไรบ้างที่ตัวเราสามารถทำได้อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในภาพรวม นี่อาจเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยลดการสูญเสียศักยภาพของประชากรไทยไปโดยใช่เหตุได้

อ้างอิงข้อมูล:

[1] รายละเอียดในโพสของ ‘ประเทศไทยอยู่ตรงไหน’ วันจันทร์ที่ 16 ม.ค. 2555 http://www.whereisthailand.info/2012/01/pisa-score-2009/
[2] http://www.oecd.org/dataoecd/61/29/48631122.pdf